รับทำวีซ่าพัทยา ขอคำปรึกษาฟรี | ทุกปัญหาวีซ่า เราช่วยคุณได้

สอบถามผ่านแบบฟอร์ม

หากคุณมีความกังวลใด ๆ หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการที่เรา กรุณากรอกแบบฟอร์มด้านล่างนี้ กรุณาให้แน่ใจว่าจะกรอกข้อมูลในช่องที่มีเครื่องหมาย *เราจะตอบคำถามของคุณที่มีโอกาสใช้ได้เร็วที่สุด

ที่ตั้งสำนักงาน

Thai Visa Service

Knight Visa Pattaya ไนท์วีซ่าพัทยาบริการรับทำวีซ่าคนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยจะต้องขอรับการตรวจลงตราหรือขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยซึ่งตั้งอยู่ในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก หรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทยที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลประเทศที่คนต่างชาติดังกล่าวมีถิ่นพำนัก หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานที่ขอวีซ่า กรุณาสอบถามได้จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยทุกแห่ง

ในการขอวีซ่านั้น คนต่างชาติจะต้องขอรับการตรวจลงตราให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเข้ามาในประเทศไทย  ทั้งนี้ การอนุมัติวีซ่าอยู่ในดุลพินิจของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่  และในการตรวจลงตราให้แก่คนต่างชาติบางสัญชาติ ได้มีการกำหนดระเบียบและหลักเกณฑ์การพิจารณา

คนต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวีซ่าประเภทใด ๆ ก็ตาม ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงาน  ดังนั้น คนต่างชาติที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องขอรับการตรวจลงตราประเภทที่ถูกต้องคือ Non-Immigrant Visa “B”  เพื่อที่จะสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานได้

หากประสงค์จะพำนักในประเทศเกินกว่าระยะวีซ่าท่องเที่ยวที่ประเทศไทยกำหนดให้แต่ละสัญชาตินั้น ต้องดำเนินการขอวีซ่าชั่วคราวแบบ 90 วัน non-immigrant visa  ที่สถานทูตไทยในประเทศต้นทาง  เพื่อมาดำเนินการขอวีซ่าระยะยาวในประเทศไทยได้

Knight Visa Help Point เราบริการแนะนำ ให้คำปรึกษา ในการยื่นขอวีซ่าในประเทศไทยให้กับชาวต่างชาติในทุกประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวก และช่วยเหลือคนต่างชาติได้รับความสะดวก ในการใช้ชีวิตในประเทศไทย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1.คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทนักท่องเที่ยว

2.ไม่เป็นบุคคลสัญชาติ หรือจำ พวกที่ คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติราชการ

ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ของ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนด

(กรณีเป็นบุคคลสัญชาติศรีลังกา อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อิหร่าน เนปาล โตโก ไนจีเรียและยูกันดา จะได้รับให้อยู่ในราขอาณาจักรได้ไม่เกิน 7 วัน)

 

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

1.แบบคำขอ ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า , ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. (ที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)

4.ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท

 

เอกสารเฉพาะกรณี

กรณีเจ็บป่วย

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หนังสือรับรองจากโรงพยาบาล โดยให้ปรากฏคำวินิจฉัยของแพทย์ดังนี้

เจ็บป่วยเป็นโรค หรืออะไร

เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลหรือไม่ อย่างไร

ต้องรักษาตัว หรือไม่สามารถเดินทางไกล นานเท่าใดแต่เมื่อใด เป็นต้นไป

 

กรณีดูแลผู้ป่วย

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หนังสือรับรองจากโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษาผู้ป่วย โดยระบุความสัมพันธ์กับผู้ป่วย หรือหนังสือรับรองความสัมพันธ์กับผู้ป่วยจากสถานทูต หรือสถานกงสุล

 

กรณีเพื่อเยี่ยมญาติหรือกลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เคยมีสัญชาติไทยหรือของผู้ที่มีบิดาหรือมารดา เป็นบุคคลสัญชาติไทยหรือเคยมีสัญชาติไทย

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หลักฐานแสดงว่าเดิมเคยมีสัญชาติไทย หรือแสดงว่าบิดา หรือมารดามีสัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย

 

กรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรส หรือเยี่ยมบุตรซึ่งมีสัญชาติไทย

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หลักฐานแสดงความสัมพันธ์

(กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย)

3.1 สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส หรือบุตร

3.2 สำเนาบัตรประชาชนของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย

3.3 สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาสูติบัตรของบุตร

 

กรณีเพื่อการดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี โดยเป็นผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์จำเลย หรือพยาน

 

กรณีปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถานฑูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การระหว่างประเทศ

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หนังสือรับรองหรือร้องขอ จากส่วนราชการระดับกรม หรือเทียบเท่า หรือหัวหน้า

4.รัฐวิสาหกิจ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือจากส่วนราชการตำรวจระดับกองบังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือจากส่วนราชการทหารระดับผู้บังคับหน่วยในสังกัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ซึ่งมีชั้นยศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรีขึ้นไป ในส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือจากองค์การระหว่างประเทศ

 

กรณีมีเหตุจำเป็นโดยมีสถานฑูต หรือสถานกงสุล รับรองและร้องขอ

1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)

2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย

3.หนังสือรับรอง หรือร้องขอ จากสถานฑูต หรือสถานกงสุล

กรณีเพื่อศึกษาในสถานศึกษาของ เอกชน


หลักเกณฑ์การพิจารณา

– คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว

– สถานศึกษานั้นได้รับอนุญาตให้ประกอบ กิจการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

– ได้รับการรับรองและร้องขอจากสถานศึกษานั้น

– ได้รับการรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง (ยกเว้นกรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ และกรณีศึกษาในระดับอุดมศึกษา)


เอกสารประกอบที่ต้องใช้

– แบบคำขอ ตม.7

– สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

– สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

– หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้นโดยให้ปรากฏรายละเอียด เกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับหลักสูตร และผลการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ

– หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับ กรมหรือเทียบเท่าหรือจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่ รับผิดชอบสถานศึกษานั้น (ยกเว้นกรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติและ กรณีศึกษาในระดับอุดมศึกษา)

กรณีเป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติ ไทย (เฉพาะบิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรส)


หลักเกณฑ์การพิจารณา

– คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว

– มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์

– กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทาง นิตินัยและพฤตินัย หรือ กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขอยู่ในความ อุปการะบุตรบุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์

– กรณีบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา นั้นต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท หรือต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบ 1 ปี

– กรณีสมรสกับหญิงไทย ฝ่ายสามีซึ่งเป็น คนต่างด้าวต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่า เดือนละ 40,000 บาท หรือเงินฝากใน ธนาคารในประเทศไทยคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือน ไม่น้อยกว่า 400, 000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบปี


เอกสารประกอบที่ต้องใช้ (คลิกอ่าน)

  1. กรณีอุปการะบุตรไทย/บุตรไทย
  2. กรณีภรรยาไทย
  3. กรณีสามีไทย


หมายเหตุ

ผู้ยื่นคำขอและบุตร/ภรรยา/สามีผู้มีสัญชาติไทย ต้องมาติดต่อด้วยตนเอง เพื่อมาให้ปากคำ ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงมาแสดง  และถ่ายเอกสารพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วยลายมือชื่อของผู้ยื่นคำขอ

กรณีใช้ชีวิตในบั้นปลาย

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา

คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราวมีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

มีหลักฐานการมีเงินได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ 65,000 บาท หรือ

ณ วันยื่นคำขอมีเงินฝากในธนาคารในประเทศไทย (ประเภทออมทรัพย์ธรรมดา / ประจำ) คงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท เฉพาะในปีแรกให้แสดงบัญชีเงินฝากโดยมีเงินจำนวนดังกล่าวฝากอยู่ในบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน หรือ มีเงินได้ในรอบปี และมีเงินฝากธนาคารคำนวณรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท นับถึงวันยื่นคำขอคนต่างด้าว ซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนวันที่ 21 ตุลาคม 2541 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลายต่อเนื่องตลอดมา

 

ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้

(ก) อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ที่แน่นอน โดยมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอด ระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่าปีละ 2,000,000 บาท

หรือ มีรายได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ 20,000บาท

(ข) อายุไม่ถึง 60 ปี แต่ไม่น้อยกว่า 55 ปี ต้องมีรายได้ที่แน่นอนโดยมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่าปีละ 500,000 บาท หรือ มีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 50,000 บาท

 

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

– แบบคำขอ ตม.7

– สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

– หลักฐานแสดงการมีเงินได้ เช่น เงินบำนาญ หรือการได้รับดอกเบี้ย หรือเงินปันผล เป็นต้น และ / หรือ หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารในประเทศไทย (ประเภทออมทรัพย์ธรรมดา / ประจำ) และสำเนาบัญชีธนาคาร

– เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (6) ให้แสดง เอกสารเช่นเดียวกับข้อ 1 4 ข้างต้น

กรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรสหรือเยี่ยมบุตร ซึ่งมีสัญชาติไทย


หลักเกณฑ์การพิจารณา

– มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์

– กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย


เอกสารประกอบที่ต้องใช้

– แบบคำขอ ตม.7

– สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

– สำเนาทะเบียนบ้าน

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มี สัญชาติไทย

– สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาสูติบัตร 

กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาล หรือ การพักฟื้น หรือเพื่อดูแลผู้ป่วย


ก. กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาลหรือการพักฟื้นหรือเพื่อดูแลผู้ป่วย

– ได้รับการรับรองและร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับอาการป่วย

– ระยะเวลาในการรักษา และความเห็นของแพทย์ผู้รักษาว่าอาการป่วยนั้นเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง

– กรณีดูแลผู้ป่วยต้องได้รับการรับรอง และร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา หรือจากสถานทูต หรือ สถานกงสุล

– ผู้ดูแลผู้ป่วย นอกจากบิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสแล้ว ให้อนุญาตได้อีกไม่เกิน 1 คน


ข. กรณีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน สำหรับคนชาติราชอาณาจักรบาร์เรน รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน รัฐกาตาร์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่น ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด

– ผู้รับการรักษาพยาบาลและผู้ดูแลผู้ป่วย ต้องได้รับการรับรองและร้องขอจากสถานพยาบาลในประเทศไทยตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่ทำการตรวจรักษา และออกโดยกระทรวงสาธารณสุข

– ผู้ดูแลผู้ป่วย ได้แก่ บิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุคคลอื่นตามเอกสารแสดงรายชื่อที่ผู้รับการรักษาพยาบาลลงลายชื่อรับรองเอกสาร จำนวนไม่เกิน 4 คน


เอกสารประกอบที่ต้องใช้

ก. กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาลหรือการพักฟื้นหรือเพื่อดูแลผู้ป่วย

– แบบคำขอ ตม.7

– สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

– หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา

เฉพาะกรณีดูแลผู้ป่วยให้แนบหนังสือรับรอง และขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ประจำโรงพยาบาล

ที่ทำการตรวจรักษา และเอกสารแสดง ความสัมพันธ์ (กรณีผู้ดูแลซึ่งเป็นส่วนแห่ง ครัวเรือน)

เช่น หลักฐานการสมรส สำเนา สูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นต้น โดยได้รับการรับรองจากสถานทูต หรือสถาน กงสุล


เอกสารประกอบที่ต้องใช้

ข. กรณีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน สำหรับคนชาติราชอาณาจักรบาร์เรน รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน รัฐกาตาร์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่น ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด

– แบบคำขอ ตม.7

– สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ

– หนังสือรับรองหรือร้องขอจากสถานพยาบาลในประเทศไทยตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่ทำการตรวจรักษา หรือจากกระทรวงสาธารณสุข

ผู้รับการรักษาพยาบาล ให้แนบเอกสารเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ออกโดยสถานพยาบาลในประเทศไทยตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่ได้รับการตรวจสอบโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ เอกสารการนัดหมายเข้ารับการรักษาพยาบาล เอกสารการรับรองการรักษาพยาบาลของแพทย์ เอกสารยืนยันการเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือเอกสารทางการแพทย์ประเภทอื่น

ผู้ดูแลผู้ป่วย กรณีที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรม ให้แนบเอกสารแสดงความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาสูติบัตร สำเนาใบรับรองบุตร หรือหนังสือรับรองความสัมพันธ์จากผู้รับการรักษาพยาบาลในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส สำหรับบุคคลอื่นนอกเหนือจากบิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือบุตรบุญธรรมให้แนบสัญญาจ้าง หรือหนังสือรับรองจากผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยทั้งสองกรณีต้องแนบเอกสารแสดงรายชื่อผู้ดูแลแลผู้ป่วย ซึ่งผู้รับการรักษาพยาบาลลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร

ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวข้างต้น ต้องรับรองโดยสถานทูตหรือหน่วยงานราชการของประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC : Gulf Cooperation Council) (ตามแบบฟอร์มเอกสารหนังสือรับรองความเป็นญาติและผู้ติดตามของผู้รับบริการรักษาพยาบาล – Affidavit of Support) โดยแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย Free Consulting !

คำสัญญาจากเรา